อายุที่มากขึ้นทำให้หลายคนต้องระวังการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะผู้มีภาวะเบาหวานเนื่องจากเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการรับประทานและการสะสมพฤติกรรมที่เราไม่ทันรู้ตัว จึงเป็นโรคที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากกว่าที่เราคิด โชคดีที่ปัจจุบันมีเทคโนโลยีช่วยให้การใช้ชีวิตง่ายขึ้นด้วยการตรวจระดับน้ำตาลเองที่บ้าน ทำให้มั่นใจในการรับประทานอาหาร การใช้ชีวิตและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

รู้มั้ย…สมัยก่อนแพทย์มักใช้ SMBG (Self-Monitored Blood Glucose หรือ การติดตามระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเอง) ในคนไข้เบาหวานชนิดที่ 1 เพื่อปรับการฉีดยาอินซูลินตามระดับน้ำตาล แต่ปัจจุบัน SMBG เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการติดตามระดับน้ำตาล ทำให้แพทย์และผู้มีภาวะเบาหวานสามารถเช็กระดับน้ำตาลและแนวโน้มระดับน้ำตาลของตัวเองได้พร้อมกันทันทีแบบ real-time ภายหลังการรับประทานอาหารประเภทต่างๆ ผู้มีภาวะเบาหวานสามารถเห็นข้อมูลได้ทันทีว่าอาหารชนิดใดส่งผลต่อระดับน้ำตาลที่สูงขึ้นและอาหารชนิดใดที่รับประทานแล้วระดับน้ำตาลในเลือดยังอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ตามเกณฑ์ที่แพทย์แนะนำ ทำให้สามารถตัดสินใจและเลือกปริมาณอาหารได้เหมาะสมมากขึ้น ซึ่งหลายครั้งพบว่าเมื่อผู้มีภาวะเบาหวานตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเองสามารถช่วยเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตได้ ไม่ว่าจะเป็น การทานอาหาร การควบคุมน้ำหนัก เป็นต้น[1]

รู้งี้…เพียงหันมาใส่ใจในการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น สังเกตอาหารและปริมาณอาหารที่รับประทานในแต่ละวัน การปรับปริมาณการรับประทานอาหารให้เหมาะสม จะช่วยควบคุมน้ำหนักตัวและระดับน้ำตาลในเลือดได้ เนื่องจาก ‘เบาหวาน’ เป็นโรคที่สามารถควบคุมให้อยู่ในระยะสงบได้ หากเข้าใจและมีวินัยอย่างสม่ำเสมอ เช่น ความเข้าใจเรื่องการทานอาหารประเภทแป้งหรือของหวาน  การคำนึงถึงปริมาณการทานแป้งเพื่อให้ร่างกายดึงพลังงานจากไขมันมาใช้ได้อย่างสมดุล, การควบคุมช่วงเวลาการทานอาหาร, การออกกำลังกายรวมถึงการนอนหลับให้เพียงพอล้วนส่งผลให้การควบคุมภาวะเบาหวานดีขึ้นได้

แม้ว่าผู้มีภาวะเบาหวานส่วนใหญ่รู้ดีว่าอาหารประเภทใดไม่ควรรับประทาน แต่การเผลอตัวไม่ทันระวังหรือไม่ยอมปรับพฤติกรรมสามารถนำไปสู่ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงและภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานระยะยาวได้ โดยทั่วไปการพบแพทย์ตามนัดอาจมีระยะห่าง 1-3 เดือนซึ่งทำให้แพทย์ผู้รักษาได้รับผลตรวจระดับน้ำตาลแบบรายเดือนหรือราย 3 เดือน เพื่อนำไปประเมินการปรับยาซึ่งจะสูงต่ำไม่เท่ากันในแต่ละวัน (ผู้มีภาวะเบาหวานบางคนระวังพฤติกรรมมากเป็นพิเศษก่อนมาพบแพทย์)  การรักษาเบาหวานจึงเป็นการปรับยาตามผลการตรวจประจำเดือนนั้นๆ ทำให้การรักษาคลาดเคลื่อนได้ การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเองที่บ้าน (SMBG) จะทำให้แพทย์สามารถนำข้อมูลมาประกอบการดูแลและวางแผนการดูแล ช่วยให้แพทย์และผู้มีภาวะเบาหวานเห็นแนวโน้มน้ำตาลร่วมกัน เพื่อปรับโภชนาการและพฤติกรรมการใช้ชีวิต รวมถึงการปรับยาเบาหวานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงเป็นประโยชน์กับทั้งแพทย์และคนไข้ทั้งสองฝ่าย

เช็กก่อน ลดเสี่ยง…SMBG หรือ การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเอง มีบทบาทเป็นผู้ช่วยแพทย์และผู้มีภาวะเบาหวานอย่างไร? 

  1. ติดตามผลแบบ real time ลดความเสี่ยง: การตรวจระดับน้ำตาลสัปดาห์ละ 1 วัน วันละ 2 ครั้ง (ก่อน/หลังอาหาร) ทำให้มีผลเลือด 8 ครั้ง ใน 1 เดือน ทำให้แพทย์ได้ข้อมูลภาพรวมการควบคุมระดับน้ำตาลในเดือนนั้นๆ ได้น่าเชื่อถือกว่าการตรวจเช็กเดือนละครั้ง 
  2. เป็นเครื่องมือในการช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรม : การทำ SMBG นับเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ช่วยให้ผู้มีภาวะเบาหวานเข้าใจตัวเองมากขึ้น รวมถึงทราบข้อมูลระดับน้ำตาลในเลือด นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้ดีขึ้น และเมื่อเข้าใจตัวเองมากขึ้น ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างมีวินัย 

ปัจจุบันเทคโนโลยีเครื่องตรวจระดับน้ำตาลทำให้ผู้มีภาวะเบาหวานดูแลตนเองได้อย่างต่อเนื่องและใช้ชีวิตง่ายขึ้น เพราะได้รับการพัฒนามาให้ใช้ง่าย สะดวก ทั้งยังแบ่งเบาภาระแพทย์และผู้มีภาวะเบาหวาน รวมถึงช่วยให้ผู้มีภาวะเบาหวานรับประทานอาหารอย่างมั่นใจมากขึ้นเมื่อต้องอยู่ไกลแพทย์5 และมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

“เริ่มตรวจระดับน้ำตาลเองตั้งแต่วันนี้ ก่อนจะต้องเสียใจกับคำว่า #รู้งี้…ดูแลสุขภาพไปนานแล้ว” 

#รู้งี้ #รู้ทันเบาหวาน #ควบคุมน้ำตาล #SMBG #RocheThailand 

อ้างอิง: 

  1. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560.
  2. สิริมา มงคลสัมฤทธิ์, เฮนอค นีกาส, ยุพิน ดรชัย, & เพชร รอดอารีย์. (2556). ระดับน้ำตาลสะสมในเลือดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้และไม่ใช้การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองในชุมชนชนบท. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 43(3), 126-137.
  3. S.Martin, B. Schneider, L. Heinemann, V. Lodwig, H.-J. Kurth, H. Kolb, W.A. Scherbaum: Self-monitoring of blood glucose in type 2 diabetes and long-term outcome: an epidemiological cohort study, Diabetologia 2006: 49:271-278., International Diabetes Federation. (2009). Guideline self-monitoring of blood glucose in non-insulin treated Type 2 diabetes.N.P.:n.p.
  4. International Diabetes Federation. (2009). Guideline self-monitoring of blood glucose in non-insulin treated Type 2 diabetes.N.P.:n.p.
  5. แสงอรุณ สุรวงศ์, & ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์. (2560). ผลของการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวต่อระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 29(1), 104-116.

—————————–—————–

BB32094

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *