การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมักเกิดขึ้นหลังถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน ทันทีที่แพทย์ยื่นผลตรวจให้ ชีวิตคุณก็อาจไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นเบาหวานประเภทที่ 1 หรือประเภทที่ 2 นั่นก็ทำให้วิถีชีวิตเดิมๆ และพฤติกรรมที่ทำจนเป็นปกติของคุณต้องเปลี่ยนแปลงไป ทั้งที่อาจจะพร้อมหรือไม่พร้อมเผชิญการเปลี่ยนแปลงก็ตาม ทั้งในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน, ครอบครัว และคนรอบตัว เมื่อเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมขึ้นแล้วสิ่งสำคัญนอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย คือสุขภาพจิต ที่จำเป็นจะต้องใส่ใจดูแลควบคู่กันไป หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ดูแล อาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวลจากโรคเบาหวานได้ และในทางเดียวกันนั้น การเผชิญภาวะเบาหวานสามารถส่งผลให้สุขภาพจิตแย่ลงได้

เรื่องเบาหวาน ไม่ใช่เรื่องเบาๆ มารู้จักข้อมูลและตัวเลขน่าสนใจ ที่คุณอาจไม่เคยรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและสุขภาพจิตที่ดี

โรคเบาหวาน

การเชื่อมโยงกันระหว่างโรคเบาหวานและสุขภาพจิต

การเปลี่ยนแปลงตัวเองหลังจากทราบการวินิจฉัยเรื่องโรคเบาหวานทำให้ผู้ป่วยต้องปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่เคยทำมาเป็นประจำจนเกิดความเคยชิน ทำให้อาจเกิดความรู้สึกที่อึดอัดและตั้งคำถามมากมายในจิตใจต่อการเปลี่ยนแปลงนี้ ซึ่งเป็นภาวะที่ต้องจำยอมในการปรับเปลี่ยนหากต้องการดูแลสุขภาพกายให้ดีขึ้น แต่รู้หรือไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้นส่งผลต่อสุขภาพจิตอีกด้วย อาทิเช่น

แพทย์แนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารบางประเภท หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล หรือจำกัดปริมาณในการดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งอาจเป็นอาหารหรือเครื่องดื่มประเภทที่ผู้ป่วยชื่นชอบเป็นอย่างมากก่อนหน้านี้ และเป็นเรื่องยากสำหรับทุกคนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

การถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานทำให้ต้องมีความรับผิดชอบต่อสุขภาพตามมา อย่างเช่น การวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเองที่ต้องทำเป็นประจำ การนัดหมายของแพทย์ที่อาจต้องลาหยุดงานเพื่อไปพบ มีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่เพิ่มมากขึ้นมาจากการใช้ชีวิตปกติ และการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่ทำให้อารมณ์แปรปรวนและรู้สึกแย่ได้ในการดูแลรักษาระดับน้ำตาลหรือจากการเปลี่ยนพฤติกรรมประจำวันความกังวลในค่าระดับน้ำตาลในเลือดอาจทำให้เกิดภาวะเครียดได้ การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลส่งผลต่ออารมณ์ และความรู้สึกทางจิตใจด้านอื่นๆ ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว เช่น ความเหนื่อยล้า การคิดได้ช้า อาการวิตกกังวล

โรคเบาหวาน

การเป็นโรคเบาหวานอาจทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่าความทุกข์จากโรคเบาหวาน ซึ่งจะมีลักษณะอาการโรคซึมเศร้า, ความเครียด และอาการวิตกกังวล เป็นทุกข์ที่เกิดจากโรคเบาหวานสามารถเชื่อมโยงกับปัจจัยต่างๆ ที่เกียวข้องกับโรคเบาหวานได้ ซึ่งต่างจากภาวะซึมเศร้าในสาเหตุอื่น อาทิเช่น ความกลัวภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำจนผิดปกติ เป็นทุกข์จากโรคเบาหวานอาจได้รับผลกระทบมาจากปัจจัยภายนอก เช่น การสนับสนุนและยอมรับจากครอบครัวและสังคม การเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ มีมากถึง 33-50%1 ของผู้เป็นเบาหวานที่ประสบกับปัญหาความทุกข์จากโรคเบาหวาน ถึงแม้ว่าความทุกข์นี้จะไม่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยยา แต่ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า การบรรเทาความทุกข์จากโรคเบาหวานเพื่อลดความเครียดนั้น สามารถทำได้ด้วยการพูดคุยให้มากขึ้น หาทางออกร่วมกันด้วยความเข้าใจซึ่งกันและกัน

โรคเบาหวาน

มีข้อมูลที่น่าสนใจสำหรับผู้เป็นเบาหวานกับโรคซึมเศร้าจากผู้เชี่ยวชาญ 

ภาวะซึมเศร้าสัมพันธ์กับระดับน้ำตาลในเลือด ส่วนความเครียดนั้นไม่พบ แต่อย่างไรก็ตามควรให้ความสำคัญในการคัดกรองความเครียดและภาวะซึมเศร้าในผู้มีภาวะเบาหวานทุกราย เพื่อป้องกันภาวะรุนแรงของโรคซึมเศร้าจากโรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน

สิ่งนี้ กำลังแสดงว่าคุณกำลังเข้าสู่ภาวะซึมเศร้าจากโรคเบาหวาน

ความท้าทายที่ใหญ่ที่สำคัญในการรักษาสุขภาพจิตของผู้มีภาวะโรคเบาหวานคืออัตราการตรวจพบที่ต่ำ มีความทุกข์ทางจิตขั้นรุนแรงของผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่ถูกตรวจพบมากกว่า 45% ในการรักษา4โรคเบาหวานจึงจำเป็นต้องตระหนักในเรื่องความเชื่อมโยงระหว่างจิตใจและร่างกาย และการดูแลเอาใจใส่ตัวผู้ป่วยเป็นสำคัญ การตรวจคัดกรองสุขภาพจิตเป็นประจำระหว่างการรักษาจึงเป็นอีกหนึ่งวิธีในการดูแลสุขภาพจิตด้วย

สรุป

ถึงแม้ว่าการวินิจฉัยโรคเบาหวานอาจทำให้เกิดความเครียด และความเครียดอาจส่งผลให้การใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยดำเนินไปได้ยากขึ้น ควรจะสังเกตสุขภาพจิตของตัวเองอยู่เสมอและประเมินระดับความเครียดเป็นระยะ เพื่อที่จะได้รู้เท่าทันความเครียด ลดความวิตกกังวลลง เช่นเดียวกับที่ต้องทบทวนและปรับเปลี่ยนการดูแลโรคเบาหวานบ่อยๆ เพื่อหาวิธีแก้ปัญหาในระยะยาว การค้นหาวิธีการดูแลสุขภาพจิตที่ถูกต้องอาจต้องใช้เวลาและเป็นกระบวนการของการลองผิดลองถูก ยิ่งคุณได้รับความช่วยเหลือเร็วเท่าไรก็ยิ่งดี เพราะเบาหวาน ยิ่งรู้ไว ยิ่งเบาใจ

อ้างอิง

1. https://www.mhanational.org/diabetes-and-mental-health#4

2. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/256134

BB 35179

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *